วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครู

วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือสารสำหรับครู


คำอธิบายรายวิชา.....ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ความก้าวหน้าเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เช่น  ไมโครซอฟท์คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ระบบการสื่อสารข้อมูล ระบบเน็ตเวิร์ต
ระบบซอฟท์แวร์ การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ เครื่องทือการเข้าถึงสารสนเทศ ทักษะการเข้าถึงสารสนเทศ ฐานข้อมูลสารสนเทศ ห้องสมุดอิเลกทรอนิกส์และการอ้างอิง ฝึกปฎิบัติการ สามารถใช้คอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานและเทคโนโลยีสารสนนเทศและการสื่อสารได้อย่างเหมาะสมได้



วัตถุประสงค์
  .....เมื่อผู้เรียนการศึกษาเนื้่อหาบทเรียนจบแล้วตามหลักสูตรแล้วจะมีพฤติกรรมหรือความสามารถได้ดัีงนี้
     1. อธิบายความหมาย ความสำคัญ และองค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศได้
     2. อธิบายความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้
     3. ยกตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้
     4. อธิบายความหมาย และความสำคัญของเทคโนโลยีวิธีระบบได้
     5. อธิบายความสัมพันธ์ของวิธีระบบกับเทคโนโลยีสารสนเทศได้
     6. บอกความหมาย และองค์ประกอบสำคัญๆของคอมพิวเตอร์ได้
     7. อธิบายหน้าที่ขององค์ประกอบคอมพิวเตอร์ได้
     8. บอกประเภทและคุณสมบัติของซอฟแวร์แต่ละประเภทได้
     9. บอกความหมาย และความสำคัญของอินเตอร์เนตได้
    10. บอกความสันพันธ์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเทอร์เนตได้
    11. อธิบายแหล่งเรียนเรียนรู้ต่างๆที่สามารถเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายได้
    12. อธิบายวิธีประยุกต์ใช้เทคโนโลยีกับการศึกษาได้
    13. ยกตัวอย่างโปรมแกรมต่างๆที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนได้
    14. สร้างสือเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนได้
    15. นำเสนอสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งที่เป็นสื่อทั่วไปและสื่อระบบเครือข่ายได้







ความซื่อสัตย์


ความซื่อสัตย์ ความหมายของคำว่า ความซื่อสัตย์ คือ ประพฤติตรงไม่เอนเอียงไม่มีเล่ห์เหลี่ยมมีความจริงใจ ปลอดจากความรู้สึกลำเอียงหรืออคติ คุณลักษณะเชิงพฤติกรรม ผู้ที่มีความซื่อสัตย์ คือ ผู้ที่มีความประพฤติตรงทั้งต่อหน้าที่ ต่อวิชาชีพ ตรงต่อเวลา ไม่ใช้เล่ห์กล คดโกงทั้งทางตรงและทางอ้อม รับรู้หน้าที่ของตนเองและปฏิบัติอย่างเต็มที่ถูกต้อง
        ความซื่อสัตย์สุจริต ” คืออะไร มีความหมายอย่างไร
        ตามพจนานุกรมคำว่า “ซื่อสัตย์สุจริต” คือ “ความประพฤติตรงไปตรงมาด้วยความจริงใจ ไม่คดโกงไม่หลอกลวง และที่สำคัญ คือ ความประพฤติด้วยความตั้งใจดี 
       

         ความซื่อสัตย์สุจริตจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ถ้าดูตามคำวิเคราะห์ศัพท์ในพจนานุกรม ความซื่อสัตย์สุจริตจะเกิดขึ้นได้โดย ผู้ปฏิบัติจะต้องมีสัจจะทั้งกาย วาจา ใจ ยึดมั่นทำแต่สิ่งที่ชอบ ไม่ประสงค์ในสิ่งที่ไม่ถึงได้อันจะนำไปสู่ความทุจริต ในการกระทำทุกอย่าง ปากพูดอะไรก็ทำอย่างนั้น คือ ปากกับใจต้องตรงกัน ที่กล่าวมานี้เป็นความหมายของความซื่อสัตย์สุจริตในความหมายทั่วไป แต่ในกรณีของผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายนั้น คำว่า “ ซื่อสัตย์สุจริต ” มีความหมายลึกซึ้งกว่านี้มากและจะแตกต่างจากวิชาชีพอื่น เช่น เจ้าพนักงานเขตหรืออำเภอให้บริการที่ดีแก่ประชาชนที่ไปติดต่อขอเปลี่ยนชื่อ นามสกุล หรือในกรณี ผู้ป่วยไปหาแพทย์ แพทย์และพยาบาลให้การดูแลอย่างดี ให้ความสะดวกรวดเร็วในการรักษา ผู้บริการในทั้งสองกรณีพอใจกับบริการที่ได้รับจึงนำของกำลังหรือของขวัญไปให้เจ้าพนักงานอำเภอ แพทย์ หรือพยาบาลที่ให้บริการ อย่างนี้วิชาชีพอื่นถือว่าไม่เป็นไร รับไว้ได้ไม่ขัดต่อความซื่อสัตย์สุจริต เพราะเป็นเรื่องที่ไม่มีคู่กรณี มีเฉพาะผู้ให้บริการและ ผู้รับบริการ แต่ในวิชาชีพกฎหมายนั้นแม้เราจะชี้ขาดหรือตัดสินไปด้วยความยุติธรรมไม่ได้เข้าข้างใคร ผู้ชนะหรือผู้ที่ได้รับความเป็นธรรม นำของกำนัล ของขวัญ หรือเงินทองมาให้เมื่อคดีเสร็จแล้วก็ตาม ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายที่เป็นผู้ดำเนินการ หรือเป็นผู้ชี้ขาด รับไว้ไม่ได้ หากรับไว้ถือว่าไม่ซื่อสัตย์สุจริต และขัดต่อประมวลจริยธรรมนักกฎหมาย เพราะในเรื่องคดีความนั้นเป็นเรื่องที่มี คู่กรณี เมื่อฝ่ายที่ชนะเอามาให้ ฝ่ายแพ้ย่อมจะเข้าใจว่าสาเหตุที่อีกฝ่ายหนึ่งชนะเพราะเอาของขวัญ ของกำนัล หรือเงินทองมาให้ รวมทั้งหากรับไว้จะเป็นหนทางหรือบ่อเกิดของการเพาะนิสัยให้อยากได้ทรัพย์สินของคนอื่นอันจะนำไปสู่ความไม่ซื่อสัตย์สุจริตต่อไป         Honesty   หมายถึง มีความซื่อสัตย์ หรือมีความจริงใจ ทั้งในการพูดหรือปฏิบัติ โดยจะพูดและปฏิบัติตรงตามความคิด ทั้งต่อตนและต่อผู้อื่น ความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ได้แก่ การไม่เข้าข้างตนเอง การไม่โยนกลอง การไม่สร้างปมเขื่องซ่อนปมด้อย และการไม่ยกเว้นให้ตนเอง ความซื่อสัตย์ต่อผู้อื่นย่อมเกิดจากจิตที่มีความเมตตาและมีความยุติธรรม ปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข และเกิดสิ่งดี สิ่งที่ถูกต้องในสังคมโดยไม่หวังผลตอบแทน
       ความซื่อสัตย์สุจริต หมายถึง มีความซื่อตรง มั่นคงอยู่ในศีลธรรม มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น มีความสุจริตทางกาย ทางวาจา และทางใจ






คำที่มีความหมายใกล้เคียงกับคำว่าซื่อสัตย์


1. สุจริต  หมายถึง ความประพฤติชอบจริง ซื่อตรง มีความหมายตรงกันข้ามกับ ทุจริต ซึ่งคำว่า สุจริต ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิต หมายถึง ประพฤติชอบตามคลองธรรม ประพฤติด้วยตั้งใจดี ประพฤติซื่อตรง
2. ซื่อตรง หมายถึง ความมีจิตใจที่สะอาด มีน้ำใสใจจริง มีความจริงใจ จริงจังเป็นผู้ที่มีความ ซื่อสัตย์ต่อตนเอง และผู้อื่น เป็นผู้ที่มีสัจจะรักษาคำพูด การรักษาเวลาในทุกโอกาส มีความมั่นคง สุจริต โปร่งใส ในวิชาชีพ ในการดำเนินชีวิต ไม่เอาเปรียบหรือเบียดเบียนผู้อื่น ไม่แสวงหาประโยชน์ ส่วนตนบนความทุกข์ยาก เดือดร้อนของผู้อื่น ไม่ใช้เล่ห์เหลี่ยม กลโกงในการกระทำใดๆ ไม่ใช้โอกาสช่องทางทั้งทางกฎหมาย และทางวิชาชีพ เพื่อเอาเปรียบและแสวงหาประโยชน์จากโอกาสดังกล่าว ไม่เห็นแก่อามิจสินจ้าง รางวัล เป็นผู้ที่ทรง ไว้ซึ่งจรรยาบรรณในวิชาชีพแห่งตน ไม่มีประวัติด่างพร้อย เป็นที่ยอมรับ รับและเชื่อถือของ ผู้อื่นและสังคมทั่วไป บัณฑิตของมหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่จะเป็นผู้ที่มีคุณค่าเล็งเห็น และให้ความสำคัญของค่านิยมทางจิตใจยิ่งกว่าวัตถุ เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ทรงคุณค่า ทรงไว้ซึ่งคุณสมบัติอันพึง ปรารถนายิ่งขององค์กร ชุมชน สังคม และประเทศชาติ
3. ขยัน หมายถึง ความมีมานะอดทน อุตสาหะพากเพียร มีความพยายาม มีความมุ่งมั่นที่ จะกระทำการใด ๆ อย่างจริงจังและแน่วแน่ ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค มีความกล้าที่จะคิดทำ และจะเสี่ยงอย่างชาญฉลาด กล้าริเริ่มในสิ่งใหม่ ๆ บนพื้นฐานของหลักการและเหตุผล มีความมั่นใจในตนเอง มีความกระตือรือล้นใฝ่หา และแสวงหาความรู้ความก้าวหน้า หน้าทางวิชาชีพให้แก่ตนเอง มีการพัฒนาตนเองให้ทันกับความเปลี่ยนแปลง ของโลก และวิทยาการใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่องไม่หยุดยั้ง มีทัศนคติที่ดีต่อการทำงานหนักโดย ตระหนักถึง ผลสำเร็จของส่วนรวมมากกว่าส่วนตนเป็นสำคัญ มีทักษะความชำนาญ รู้จริง และทำเป็นในสาขาวิชาชีพแห่งตน นำศักยภาพที่มีอยู่ในตนเองมาใช้อย่างเต็มที่ เพื่อประโยชน์สูงสุดในการปฏิบัติหน้าที่อย่างไม่เกี่ยงงอน มีคุณสมบัติ อันเป็นที่พึงปรารถนา ของสถาบันและองค์กรที่ดีมีคุณภาพ
4. เที่ยงธรรม หมายถึง ความเที่ยงตรง ยุติธรรม ความเป็นผู้มีสติไม่ยึดมั่นในความคิด เห็นและความเชื่อของตนเองฝ่ายเดียว เป็นผู้ที่มีจิตใจเป็นกลางรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ตัดสินปัญหา โดยใช้ปัญญา อย่างมีวิจารณญาณ มีมุมมองที่หลากหลาย มีจิตใจเปิดกว้าง ไม่เห็นแก่พวกพ้อง เป็นผู้ที่มีภาวะผู้นำ มีทักษะในการคิดวิเคราะห์วิจารณ์ ในการแสวงหาหนทางในการดำเนินชีวิต และปฏิบัติวิชาชีพ และเป็นผู้ยึดมั่น ในความถูกต้อง 
5. ยุติธรรม หมายถึง ความเที่ยงธรรม ความชอบธรรม ความชอบด้วยเหตุผล และสามารถแยกแยะได้ว่าอะไรคือผิด ชอบ ชั่ว ดี ซึ่งในความหมายเชิงลึกนั้นคงต้องแบ่งเป็นเรื่อง ๆ ไป
6. มีสัจจะ สัจจะ ได้แก่ ความจริง ความซื่อตรง หรือความซื่อสัตย์ ซึ่งตรงกันข้ามกับความไม่จริง ความเท็จ ความคดโกง ทุกคนที่เกิดมาในโลกนี้ ต่างต้องการความจริง ความซื่อตรงหรือความซื่อสัตย์ด้วยกันทั้งนั้น ไม่มีใครต้องการความไม่จริง ความเท็จ ความคดโกงเลย